ข้าวกล้องงอก คืออะไร ดีอย่างไร?

ข้าวกล้องงอก คืออะไร ดีอย่างไร?

ข้าวกล้องงอก เป็นการนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก ซึ่งโดยปกติแล้ว ในตัวข้าวกล้องเองประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินซี วิตามินอี กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อาร์จินีน กลูตามีน เซอร์ลีน กลูตาเมต อะลานีน โพรลีน วาลีน ลิวซีน และ GABA (gamma aminobutyric acid)

ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อจะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหาร โดยเฉพาะ GABA เพิ่มขึ้น ข้าวกล้องงอกยังมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟิโนลิค (phenolic compounds) ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้า ชะลอความแก่ สารออริซานอล (orizanal) ช่วยควบคุมระดับ ลดอาการผิดปกติของวัยทอง

ประโยชน์ของข้าวกล้องงอก
ใน ข้าวกล้องงอก มีสารอาหารมากมายแต่ที่เป็นหัวใจสำคัญของข้าวกล้องงอกคือ GABA (Gamma aminobutyric acid) หรือกาบา ซึ่งเป็นกรดอะมิโน ผลิตจากกระบวนการ Decarboxylation ของกรดกลูตามิก โดยกรดนี้จะทำหน้าที่สื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลางของเรา กาบาจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ช่วยให้สมองผ่อนคลาย นอนหลับสบาย และไปกระตุ้นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อต่างๆ ของเรา

โดยในข้าวกล้องงอกจะมีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติถึง 15 เท่าเลยทีเดียว ช่วยป้องกันการทำลายสมอง เพราะมีสารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของ โรค อัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าทางการแพทย์ได้นำสารกาบานี้มาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ เช่น การนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล หรือลมชัก เป็นต้น

นอกจากกาบาแล้วยังมีผลวิจัยว่าข้าวกล้องงอกช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำหนัก ช่วยให้ผิวพรรณดี ตลอดจนมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟีโนลิค ป้องกันการเกิดฝ้า ชะลอความแก่ ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิว รวมทั้งออริซานอล ที่ช่วยควบคุมปรับระดับฮอร์โมนในวัยทอง และมีกากใยอาหารช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้ และลดอาการท้องผูก เป็นต้น

ดูแลสุขภาพง่ายๆ เริ่มที่การกิน สั่ง “ข้าวเคลือบสมุนไพร” คลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ  

“ข้าวเคลือบสมุนไพร” สินค้าพร้อมส่ง
สูตร 1 เหมาะสำหรับผู้สูงวัย
สูตร 2 เหมาะสำหรับวัยทำงาน
สูตร 3 เหมาะสำหรับวัยรุ่น
สูตร 4 เหมาะสำหรับผู้พักฟื้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ข้อมูลจาก: อาจารย์ประคองศิริ บุญคง ที่ปรึกษากองพัฒนายาไทยและยาสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *